4 เทคนิคดีดี ผ่อนบ้านให้หมดไว ปิดหนี้เร็ว ประหยัดดอกเบี้ยได้เป็นล้าน

การผ่อนบ้านเป็นภาระหนี้สินระยะยาว โดยส่วนมากจะมีระยะเวลาการผ่อนอยู่ที่ 20-30 ปี ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ยื่นกู้ แต่ถ้าเราได้รู้ถึงวิธีการผ่อนและเทคนิคปิดยอดหนี้ที่จะช่วยลดทั้งระยะเวลาและประหยัดเงินดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายแล้ว เราก็จะสามารถผ่อนบ้านหมดภายใน 10 ปีได้ เรามาดู 4 เทคนิคดีดี ที่จะช่วยให้เราผ่อนบ้านให้หมดไว ปิดหนี้เร็ว ประหยัดดอกเบี้ยได้เป็นล้าน กันเลย

  1. จ่ายค่างวดเกินยอดผ่อน

จ่ายเงินค่างวดผ่อนบ้านแต่ละเดือนให้เกินจากยอดผ่อนปกติที่ธนาคารกำหนด (ผ่อนเยอะ ระยะเวลาการผ่อนจะสั้นลง)การผ่อนบ้านกับธนาคารจะมีโครงสร้างแบบ “ลดต้น ลดดอก” ดังนั้นเมื่อเราจ่ายเงินต้นเพิ่มขึ้นในแต่ละงวด ยอดเงินต้นที่เราขอสินเชื่อก็จะลดลง มีผลให้ดอกเบี้ยลดตามไปด้วยและทำให้เราผ่อนบ้านได้หมดไวยิ่งขึ้นด้วย โดยเราสามารถปรับเปลี่ยนยอดผ่อนตามกำลังทรัพย์ที่เราไหวในแต่ละเดือน

ตัวอย่างเช่น ค่างวดที่ธนาคารกำหนด เดือนละ 10,000 บาท ระยะเวลา 30 ปี แต่หากเราจ่ายเพิ่มไปเป็นงวดละ 20,000 บาท ก็จะช่วยลดระยะเวลาการผ่อนบ้านของเราเหลือเพียงแค่ 10 ปีเท่านั้น

2. หาเงินมาโปะยอด เพิ่มทุกๆ ปี โดยเฉพาะช่วงดอกเบี้ยต่ำ

การโปะยอดผ่อนเป็นวิธีการลดเงินต้นและดอกเบี้ย คล้ายๆกับการจ่ายค่างวดเกิน แต่จะเป็นการจ่ายก้อนเดียวในหนึ่งงวด เพื่อให้ยอดโปะไปลดเงินต้นและดอกเบี้ยของงวดถัดไป ทั้งนี้โดยส่วนมาก หลายธนาคารจะจัดโปรโมชั่นอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดในช่วง 1-3 ปีแรกของการผ่อนสินเชื่อบ้าน ถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะช่วยให้เราโปะยอดผ่อน ลดจำนวนเงินต้นได้ง่ายและเร็วที่สุด อีกทั้งยังช่วยลดดอกเบี้ยที่จะต้องชำระได้อีกด้วย  ตัวอย่างเช่น เราจ่ายค่างวดเดือนละ 18,000 บาทต่อเดือน แต่ช่วงสิ้นปีได้โบนัสจากที่ทำงาน นำมาจ่ายงวดที่ 12 เป็น 36,000 บาท จะช่วยให้เราผ่อนชำระหนี้ได้เร็วขึ้นถึง 7 ปี และประหยัดเงินดอกเบี้ยไปได้ถึง 8 แสนกว่าบาทเลยทีเดียว

3. ทุกๆ 3 ปี รีไฟแนนซ์ (Refinance) ลดดอกเบี้ย จ่ายเงินต้นได้มากขึ้น

ธนาคารส่วนมากจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในปีที่ 4 เป็นต้นไปของการผ่อนบ้าน ดังนั้นการรีไฟแนนซ์ (Refinance) จึงเป็นเคล็ดลับการลดดอกเบี้ยบ้านให้ไม่สูงเกินเงินต้นที่เราส่งได้

การรีไฟแนนซ์ อธิบายให้เห็นภาพคือ การปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการย้ายหนี้ของเรา เปลี่ยนธนาคารไปยังธนาคารอื่นที่ให้ดอกเบี้ยถูกกว่าธนาคารเดิมที่เราผ่อนอยู่ แต่ทั้งนี้สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ การเตรียมเอกสารดำเนินการขอสินเชื่อใหม่และค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ เพราะการรีไฟแนนซ์ (Refinance) จะมีขั้นตอนเหมือนการขอสินเชื่อบ้านใหม่ ผู้ที่ต้องการขอรีไฟแนนซ์ก็จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังนี้

  • ค่าประเมินหลักทรัพย์ใหม่
  • ค่าจดจำนองใหม่
  • ค่าอากรแสตมป์ ของวงเงินกู้
  • ค่าธรรมเนียมอื่นๆ อาทิ เช่น ประกันอัคคีภัย ฯลฯ

4. ยื่นขอลดดอกเบี้ยบ้าน รีเทนชัน (Retention)

การขอลดดอกเบี้ยบ้าน หรือรีเทนชัน (Retention) ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีในการปรับโครงสร้างหนี้ โดยการขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิมที่เราขอสินเชื่อบ้าน ขั้นตอนนี้เหมาะสำหรับคนที่ไม่อยากวุ่นวาย เรื่องการเตรียมเอกสารดำเนินการขอรีไฟแนนซ์ใหม่ โดยธนาคารจะอนุมัติการขอลดดอกเบี้ย หรือ รีเทนชัน (Retention) ให้เฉพาะลูกค้าที่มีประวัติการผ่อนชำระตรงเวลา ไม่ผิดนัด ไม่ได้อยู่ในช่วงระหว่างการประนอมหนี้ หรือที่เรียกว่า ลูกหนี้ชั้นดี เท่านั้น

เทคนิคการผ่อนบ้านให้หมดไว ทั้ง 4 เทคนิคที่เรานำมาฝากข้างต้น ล้วนต้องอาศัยการบริหารจัดการเงินที่ดี มีวินัยในการใช้จ่าย มีการวางแผนที่ดี ไม่สร้างหนี้เพิ่มโดยไม่จำเป็น แต่อย่างไรก็ดี ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านสักหลัง ต้องเลือกธนาคารและโครงสร้างสินเชื่อที่เหมาะสมกับเราด้วยนะคะ เช่น โปรโมชั่นของแต่ละธนาคารที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ 3 ปีแรก และยาวถึงตลอดอายุสัญญา หรือมีธนาคารไหนให้อัตราดอกเบี้ยที่คุ้มกับเรามากกว่าที่สุด

หากสนใจ บ้านมือสอง ที่อยู่อาศัย สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ตัวแทนของ เพอร์เฟค พร็อพเพอร์ตี้ เอเจ้นท์ หรือ ค้นหาบ้าน ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม ด้วยตัวเอง ได้ที่หน้าเว็บไซต์ www.perfectpropertyagent.com โดยพิมพ์ชื่อ ทำเล หรือหมู่บ้าน ที่คุณสนใจ เพื่อค้นหาเพิ่มเติม

บทความและข่าวอื่น ๆ ที่คุณอาจสนใจ

ผลตอบแทนบ้านเช่าคิดยังไง วิธีคำนวนผลตอบแทนการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า คอนโดให้เช่า | Guru Living

ผลตอบแทนบ้านเช่าคิดยังไง วิธีคำนวนผลตอบแทนการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า คอนโดให้เช่า | Guru Living การลงทุนอสังหาริมทรัพย์เนี่ยถือว่าเป็นการลงทุนที่เป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากในทั่วทุกมุมโลกครับ ซึ่งวันนี้เนี่ยผมจะมาเล่าให้ฟังว่า ผลตอบแทนการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือที่เข้าเรียกกันว่า Yieid เนี่ยเขาคิดกันยังไง

กรมที่ดิน“ปลื้มใจ”เสียงตอบรับจาก e-LandsAnnoucement 6 เดือน ประชาชนใช้บริการกว่า 82,765 ครั้ง

จากวิถีชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นพัฒนาหน่วยงานภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัลตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0

error:

ค้นหาทรัพย์​