ข้อควรรู้…ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน

หลายคนคงอยู่ในฐานะของผู้กู้สินเชื่อไม่ว่าจะเป็นรถหรือบ้าน ซึ่งมีภาระติดตามมานั่นคือ “หนี้และดอกเบี้ย” สิ่งที่ผู้กู้ต้องรีบจัดการให้เรียบร้อยอย่างเร่งด่วนที่สุดนั้นคือ การผ่อนชำระหนี้สินเชื่อให้หมด และตรงตามกำหนดชำระ หนึ่งในวิธีการที่ทำให้ภาระหนี้หมดเร็วขึ้นคือ “การรีไฟแนนซ์ (Refinance)” หลักการพื้นฐานเพื่อช่วยให้บริหารภาระดอกเบี้ยและจำนวนเงินผ่อนชำระต่องวด ถ้าเราเข้าใจหลักการของการรีไฟแนนซ์แล้ว ก็จะช่วยให้ภาระหนี้ถูกจัดการได้อย่างดีขึ้น เรามาเริ่มทำความเข้าใจกันเลยนะครับ

รีไฟแนนซ์ช่วยให้หนี้หมดเร็วขึ้น

เรื่องที่ต้องทำความเข้าใจในการรีไฟแนนซ์ คืออัตราดอกเบี้ย โดยทั่วไปตั้งแต่ปีที่ 4 ของสัญญาการผ่อนชำระสินเชื่อบ้านจะใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง(ลอยตัว) สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย คืออัตราดอกเบี้ย MRR เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี และธนาคารส่วนใหญ่จะใช้อ้างอิงในการคิดดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR ของแต่ละธนาคารก็ไม่เท่ากัน อยู่ในช่วง 7.12-8.125% ต่อปี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเหล่านี้จะค่อนข้างสูงกว่าในช่วง 3 ปี แรกของการผ่อนชำระ ดังนั้นการรีไฟแนนซ์จะช่วยให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง และส่งผลให้เงินต้นหมดเร็วขึ้นเมื่อผ่อนชำระเท่าเดิม

รีไฟแนนซ์เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง

ในกรณีที่ผู้กู้ต้องการรีไฟแนนซ์เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทำได้ 2 วิธี ข้อ 1 ขอกู้เพิ่มเท่ากับวางเงินกู้ครั้งแรก ผู้กู้ก็จะได้เงินส่วนต่างไว้เป็นเงินสำรอง เป็นการกู้ยืมเงินส่วนที่ผ่อนชำระไปแล้วและผ่อนชำระเดือนละในจำนวนเท่าเดิม และขยายระยะเวลาในการผ่อนออกไปอีก 3 ปี หรือ ข้อ 2 ผ่อนชำระต่อจากเงินต้น และขยายระยะเวลาผ่อนออกไปอีก 3 ปี ยอดผ่อนชำระต่อเดือนจะน้อยกว่าเดิม เป็นการเพิ่มสภาพคล่องด้วยการลดยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือนแทน

สิ่งที่ต้องคำนึงก่อนจะรีไฟแนนซ์

– ขยายระยะเวลาผ่อนชำระได้ แต่ระยะเวลาผ่อนชำระหมดเมื่อรวมกับอายุผู้กู้ต้องไม่เกิน 65 ปี เช่น ตอนนี้อายุ 40 ปี ต้องการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านโดยผ่อนชำระหมด 30 ปี กรณีนี้ ธนาคารจะอนุมัติระยะเวลาผ่อนชำระหมดภายใน 25 ปี เพื่อให้การผ่อนชำระหมดก่อนจะอายุ 65 ปี

– ตรวจสอบเงื่อนไขในการโปะหนี้หรือ Prepayment Fee ก่อน สอบถามข้อมูลให้ดีว่ามีเงื่อนไขในการโปะหนี้อย่างไร เช่น ไม่ให้โปะหนี้เกิน 5 เท่าของยอดผ่อนชำระ แปลว่า มียอดผ่อนชำระเดือนละ 10,000 บาท ยอดสูงสุดในการโปะหนี้ คือ 50,000 บาทต่อเดือน ถ้าหากเราไม่สามารถโปะบ้านได้ นั่นหมายความว่า หากโชคดีได้รับเงินก้อนโต หรือโบนัสมา เราก็จะเสียโอกาสในการโปะบ้านไป

– เทียบค่าใช้จ่ายเพื่อรีไฟแนนซ์บ้านทั้งหมด กับประโยชน์จากการประหยัดดอกเบี้ยควรจะคำนวณให้รอบคอบระหว่างค่าใช้จ่ายในการทำรีไฟแนนซ์บ้านทั้งหมด เช่น ค่าใช้จ่ายในการจดจำนอง 1% ของยอดเงินกู้ นอกจากนี้อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการประเมิน และในบางธนาคารก็อาจจะมีการจูงใจให้ทำประกันสินเชื่อ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้รวมๆ กันก็ไม่น้อยทีเดียวเมื่อเที่ยบกับอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงเมื่อรีไฟแนนซ์

การรีไฟแนนซ์ถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่ดีในการบริหารการเงิน รวมทั้งในปัจจุบันยังมีตัวช่วยที่ช่วยลดความยุ่งยากในการหาสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหาแหล่งเงินกู้จากงานออกบูธต่างๆ ที่จัดเป็นประจำทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด หรือผู้ที่ไม่สะดวกในการเดินทางก็มีเว็บไซต์ Fintech ต่างๆ ให้บริการหาข้อมูลก่อนรีไฟแนนซ์ได้ เพียงเท่านี้ก็เชื่อว่าน่าจะได้ประโยชน์จากเครื่องมือทางการเงินที่เรียกว่า Refinance แน่นอน

ขอขอบคุณที่มา : https://www.maruey.com/article/contentinjournal/746

บทความและข่าวอื่น ๆ ที่คุณอาจสนใจ

กรมที่ดิน“ปลื้มใจ”เสียงตอบรับจาก e-LandsAnnoucement 6 เดือน ประชาชนใช้บริการกว่า 82,765 ครั้ง

จากวิถีชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นพัฒนาหน่วยงานภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัลตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0

Yield คืออะไร ทำไมนักลงทุนอสังหาฯ ต้องทำความรู้จัก วันนี้มีคำตอบ!

แน่นอนว่าในยุคเศรษฐกิจที่ดูเหมือนยังมีขึ้น มีลง เช่นนี้ กลุ่มนักลงทุนที่หวังอยากแสวงหากำไรจากอสังหาฯ ต่างจำเป็นต้องศึกษาสภาพตลาดอย่างละเอียดถี่ถ้วน รวมไปถึงอัตราผลตอบแทนอย่าง Yield อันเปรียบเสมือนเป็นหัวใจหลักสำคัญที่ทำให้ได้กำไรอย่างที่หวัง โดยไม่ต้องแบกรับภาระที่สามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคต

error:

ค้นหาทรัพย์​